หลักสูตร เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้ผลทันใจ

หลักการและเหตุผล (Introduction)

การดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน เป็นการแข่งขันในการสร้างผลกำไรและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญของผู้ประกอบการทั้งด้านการผลิตและบริการ ซึ่งการให้ผู้ปฏิบัติงานทั้งในระดับผู้บริหาร หัวหน้างาน และฝ่ายปฏิบัติการ ได้เรียนรู้กระบวนการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ รู้จักเลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจและแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ มีการเตรียมการสำหรับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตหลังจากที่ได้ทำการตัดสินใจไปแล้ว นอกจากการเรียนรู้เทคนิคการวิเคราะห์ปัญหาแล้ว ผู้ปฏิบัติงานควรได้เรียนรู้ถึงเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอย่างสมบูรณ์ เช่น เทคนิคการวิเคราะห์สาเหตุตามหลัก 4M (สาเหตุของปัญหาจาก คน, เครื่องจักร, วัตถุดิบ และวิธีการ) เทคนิคในการตัดสินใจเลือกวิธีในการแก้ไขในระดับต่าง เช่น การแก้ไขปัญหาระยะสั้น ระยะกลาง และการวางแผนแก้ไขในอนาคต รวมถึงเทคนิคการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจส่งผลต่อการตัดสินใจ เป็นต้น ก็จะพบการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานไปในทางที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน เช่นลดต้นทุนการดำเนินงาน ลดปัญหาความเสียหาย ลดความสูญเปล่าจากการแก้ไขการรอคอยงาน การขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและยังสามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับบุคลากรภายในได้

                หลักสูตรนี้จึงเป็นคำตอบที่ดีของการใช้เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาการทำงานได้อย่างเป็นระบบและเห็นผลได้อย่างแน่นอน เป็นการรวบรวมเครื่องมือที่ใช้แก้ไขปัญหากับผู้ปฏิบัติงานและฝึกการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อช่วยกันระดมสมอง ได้พูดได้คุยกันมากขึ้นในการแก้ไขปัญหาประจำวันได้เป็นอย่างดีและยังสอดแทรกแนวคิดการปรับปรุงงานที่มีประสิทธิภาพหลังการแก้ไขปัญหา ตามหลักการ PDCA ให้กับผู้เข้าอบรม อีกด้วย

วัตถุประสงค์  (Objective )

1.          เพื่อสร้างแนวคิดในการเลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาอย่างเป็นระบบ

2.        เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกันการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นมีรูปแบบ

3.       เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานและบริษัทอย่างต่อเนื่อง

4.        เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการเลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาในปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง

5.       เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเชื่อมั่นและกล้าถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ ความชำนาญในการทำงานเป็นกลุ่ม

6.       เพื่อสร้างกลุ่มคุณภาพ ให้เกิดขึ้นจากบุคคลากรภายในหลังการฝึกอบรม

7.        เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี

8.       เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับผู้เข้ารับการอบรม

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม (Target Participants)

·          หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจทั่วไป

รูปแบบการการอบรม (Methodology)

·          การบรรยาย  40 %

·          เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 50%

·          กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์  10 %

วิทยากรบรรยาย (Lecturer)

·          อ.ดร.ไมตรี บุญขันธ์ วิทยากร

ระยะเวลาอบรม (Period)

·          1 วัน (6 ชั่วโมง)

เนื้อหาการบรรยาย (Key Contents)

เวลา

หัวข้อการฝึกอบรม

รายละเอียด

 

 

 




 

09.00–12.00 น.

1. หลักการจัดการองค์กรเพื่อการแข่งขันในปัจจุบัน

2. ความสำคัญของการแก้ไขปัญหาในองค์กร

3. Mindset ในการแก้ไขปัญหา ระหว่าง Fixed mindset & Growth mindset

4. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานที่ผิดพลาด

                4.1 ปัจจัยการกระทำของคน ที่ทำให้เกิดความผิดพลาด

                4.2 ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน

Workshop1: แชร์ประสบการณ์ปัญหาที่เกิดจากความผิดพลาดของการทำงานปัจจุบัน

5. เกี่ยวกับปัญหา และการตัดสินใจ

·           ปัญหา คืออะไร / สาเหตุหลักของปัญหา / ประเภทของปัญหา

·           การตัดสินใจ คืออะไร / ประเภทของการตัดสินใจ

Workshop4: วิเคราะห์ประเภทของปัญหาในการทำงาน

6.กระบวนการตัดสินใจ แก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบด้วย PDCA  

 

 

 

 

 

 

 

 








 

วิทยากรบรรยาย

ผู้เข้าอบรมร่วมเสนอความคิดเห็น

กิจกรรม Workshop

12.0013.00 น.

พักเที่ยง

 

 

 

 

 

13.0016.00 น.

7. เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาที่มีโครงสร้างชัดเจนและไม่มีโครงสร้างชัดเจน

·           หลักการคัดกรองปัญหาเบื้องต้นด้วย 5W2H

·           Relations diagram

·           Cause and Effect Analysis (CE analysis)

8.การจัดการปัญหาและวิธีการแก้ไขด้วย Tree Diagram และการวางแผนด้วย Arrow diagram

9.แผนผังการตัดสินใจด้วย Matrix data analysis เพื่อการตัดสินใจแบบมีเหตุผล

Workshop5: ระดมสมองเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน

10.  สรุป/ตอบข้อซักถาม

 

หมายเหตุกำหนดการอบรมและรูปแบบการอบรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมของบริบทผู้เข้าอบรม

  

Visitors: 17,029