หลักสูตร การพยากรณ์ความต้องการสินค้าของลูกค้า
(Customer Demand Forecasting)
หลักการและเหตุผล (Introduction)
การพยากรณ์ความต้องการสินค้าของลูกค้านั้น มีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากในธุรกิจการผลิตและการขายสินค้าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากมีความไม่แน่นอนหรือความแปรปรวนในความต้องการสินค้าของลูกค้าอยู่เสมอและผู้ผลิตไม่สามารถควบคุมหรือจัดการให้อยู่ในความควบคุมได้โดยง่าย โดยเฉพาะในปัจจุบันการแข่งขันการผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ามีความเข้มข้นและรุนแรงเป็นอย่างมาก ผู้ใดสามารถผลิตและขายสินค้าได้ตามที่ลูกค้าต้องการอย่างแท้จริงย่อมเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน ส่วนผู้ใดไม่สามารถผลิตและขายสินค้าให้กับลูกค้าได้ตามที่ลูกค้าต้องการก็จะต้องล่มสลายไปในที่สุด โดยมีปัจจัยหลายๆอย่างที่ทำให้เกิดการล่มสลายได้เช่น ธุรกิจขาดความยืดหยุ่นในการตอบสนองความต้องการสินค้าของลูกค้า,สินค้าที่ผลิตล้าสมัยและไม่ตอบโจทย์ความต้องการอย่างแท้จริง, การแข่งขันด้านราคา,นวัตกรรมการผลิตสินค้าที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วจนธุรกิจปรับตัวตามไม่ทัน, การขาดความเอาใจใส่ของเจ้าของธุรกิจ,ปัญหาด้านการเงิน, ปัญหาด้านการผลิตและการวางแผนการผลิต ตลอดจนปัญหาด้านการจัดการโซ่อุปทาน
วัตถุประสงค์ (Objective )
1. พื่อสามารถผลิตสินค้าได้ใกล้เคียงปริมาณความต้องการของลูกค้ามากขึ้น
2. เพื่อสามารถผลิตและชายสินค้าตามปริมาณและเวลาที่ลูกค้าต้องการได้อย่างใกล้เคียงมากขึ้น
3. ลดต้นทุนการผลิตสินค้าได้ โดยไม่ต้องผลิตสินค้าก่อนการส่งมอบทุกครั้ง ด้วยการลดเวลาการSetupเครื่องจักร และลดเวลาการใช้เครื่องจักรรวมถึงพนักงานในการผลิตสินค้านอกเวลา(Over time)
4. ลดจำนวนเครื่องจักรในการผลิตในกรณีที่มีคำสั่งซื้อมากๆหรือบ่อยๆ
5. ลดปริมาณสินค้าคงคลังลงได้ ด้วยการเพิ่มรอบการหมุนเวียนสินค้าได้เร็วขึ้น รวมถึงทำให้ต้นทุนการถือครองสินค้าต่ำลง
รูปแบบการการอบรม (Methodology)
· การบรรยาย (Lecture)
· การจัดทำ Workshop ฝึกปฏิบัติ และการนำเสนองาน
· การตอบข้อซักถาม
วิทยากรบรรยาย (Lecturer)
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านอุตสาหกรรมด้าน Lean Production & Logistics กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ระยะเวลาอบรม (Period)
· 1 วัน (6 ชั่วโมง)
เนื้อหาการบรรยาย (Key Contents)
เวลา | หัวข้อการฝึกอบรม | รายละเอียด |
09.00–12.00 น. | · ความหมายและประโยชน์ของการพยากรณ์ความต้องการสินค้าของลูกค้า · การกำหนดขอบเขตและระยะเวลาของการพยากรณ์อย่างได้ผล (Forecast Horizontal and Purpose) · ข้อมูลและขั้นตอนของการพยากรณ์ความต้องการสินค้าของลูกค้า (Data lection& Preparation and Process) · รูปแบบของความต้องการสินค้าของลูกค้า (Demand Trend) |
วิทยากรบรรยาย ผู้เข้าอบรมร่วมเสนอความคิดเห็น กิจกรรม Workshop |
12.00–13.00 น. | พักเที่ยง | |
13.00–16.00 น. | · การพยากรณ์ข้องมูลแบบเป็นฤดูกาล (Seasonal Trend Forecasting) · การกำหนดปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด (Economic Order Quantity) · ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการกำหนดค่า Stock levels (Factors to consider in determining stock levels) · การกำหนดค่าSafety Stockและรอบการสั่งซื้อที่เหมาะสม |
หมายเหตุกำหนดการอบรมและรูปแบบการอบรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมของบริบทผู้เข้าอบรม
กำหนดการ วันอังคาร ที่ 20 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.00-16.00 น.
สถานที่ โรงแรม แรมแบรนดท์ สุขุมวิท 18 BTS อโศก หรือ MRT สุขุมวิท กทม.
**สถานที่อาจมีเปลี่ยนแปลง**
อัดตราค่าบริการอบรม ท่านละ 3,900 บาท
ลงทะเบียน 3 ท่านขึ้นไป ท่านละ 3,500 บาท
ลงทะเบียน 4 ท่านขึ้นไป ท่านละ 3,200 บาท
(ค่าบริการดังกล่าวยังไม่รวม VAT)
พร้อมรับใบประกาศนียบัตรในห้องอบรมพร้อม อาหารว่าง อาหารกลางวัน เอกสารการอบรม และชุด Gift Set ของสถาบัน