หลักสูตร การบริหารงานสินเชื่อและ การเจรจาเพื่อติดตามหนี้
Credit Management System & Debt Collection Negotiations
หลักการและเหตุผล (Introduction)
การให้สินเชื่อแก่ลูกค้า ต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงในการให้เครดิตแก่ลูกค้า และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า หากบัญชีลูกหนี้มีจำนวนมากและไม่ชำระหนี้ได้ตามกำหนดเวลา จะทำให้เงินจมในบัญชีลูกหนี้มากอาจจะส่งผลถึงเงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจไม่เพียงพอหรือธุรกิจอาจจะขาดสภาพคล่องได้
ดังนั้น การพิจารณาลูกค้าผู้ที่จะมาเป็นลูกหนี้การค้าจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจ หากสามารถ พิจารณา การให้สินเชื่อกับ ลูกค้าที่มาซื้อสินค้าได้อย่างถูกต้องโอกาสที่จะเก็บเงินได้ครบตามกำหนดย่อมมีมากกว่า ส่วนการติดตามหนี้ต้องใช้ทั้งทักษะและประสบการณ์ สิ่งที่พบอยู่เสมอ คือ ลูกค้าชอบหาเหตุมาอ้างและไม่ยอมชำระหนี้หรือพบตัวลูกค้ายาก(ชอบหลบหน้า)ในบางกรณีอาจจะใช้โทรศัพท์ติดต่อลูกค้า ปัญหาที่พบบ่อยคือ ลูกค้าไม่ยอมรับโทรศัพท์หรือโชคดีอาจจะติดต่อลูกค้าได้แต่จะลูกค้าบ่ายเบี่ยงการชำระหนี้ เมื่อพบปัญหาเหล่าต้องหาวิธีรับมือและแก้ไขปัญหา“ทำอย่างไรให้ลูกหนี้ยอมเจรจาและยอมชำระหนี้” การใช้คำพูดและน้ำเสียงเพื่อจูงใจ หรือ โน้มน้าวให้ลูกค้ายอมชำระหนี้ตามเงื่อนไข โดยยังมีความสัมพันธ์ อันดีต่อกัน เรียกว่า”ได้ทั้งเงิน และได้ทั้งใจ ลูกค้า”อีกด้วย
หลักสูตรนี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทราบทราบแนวทางในการบริหารสินเชื่อและวิธีการวางตัวหรือการใช้คำพูดกับลูกค้าในแต่ละสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นจริง และทราบวิธีรับมือลูกค้าต้องทำอย่างไร โดยนำทักษะการเจรจาต่อรอง (Negotiation Skills) มาประยุกต์และใช้กับลูกค้าในแต่ละสไตล์ หลักเกณฑ์ต่างๆที่นำมาใช้ในการสัมมนาครั้งนี้ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะสามารถนำจุดแข็งไปใช้ได้และขจัดข้อโต้แย้งจากลูกค้าได้โดยการนำทักษะในการเจรจาต่อรองเพื่อแก้ไข
สถาณการณ์และไม่เปิดช่องว่างหรือจุดอ่อนให้ลูกค้านำมาใช้เป็นข้ออ้างเพื่อบ่ายเบี่ยงการชำระหนี้ในภายหลัง และเรื่องกฎมายที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.การตามหนี้ที่เป็นธรรรมซึ่งประกาศในราชกฤษจานุเบกษาเมื่อ 6มี.ค.2558 ซึ่งมีผลบังคับใช้หลังจากประกาศในราชกฤษจานุเบกษา ใน180วันแล้ว เราควรปฏิบัติอย่างไร เพื่อไม่ให้ผิด พรบ.ฉบับนี้ และติดตามหนี้ได้อย่างถูกวิธี
ดังนั้น ธุรกิจจึงควรทราบและเตรียมพร้อมโดยฝึกอบรมพนักงานในองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ทราบกฎระเบียบต่างๆนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจในภายหลังได้ หลักสูตรนี้จึงมีความสำคัญ โดยผลลัพธ์สุดท้าย ธุรกิจจะต้องมีผลมีกำไร และมีสภาพคล่อง หนี้เสียลดลง ปัญหาหนี้สูญน้อยลงในที่สุด
วัตถุประสงค์ (Objective )
1. เพื่อให้การบริหารสินเชื่อและการจัดการบัญชีลูกหนี้ได้ถูกวิธีและมีผลงานการจัดเก็บบัญชีลูกหนี้ได้มากขึ้น
2. เพื่อพัฒนาบุคลากรให้เกิดความเข้าใจและสามารถนำทักษะจากการฝึกอบรมมาใช้ ให้เกิดประโยขน์สูงสุด
3. เพื่อลดเวลาและลดต้นทุนในการติดตามหนี้ให้น้อยลง
วิทยากรบรรยาย (Lecturer)
· วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านฝ่ายสินเชื่อและกฎหมาย
ระยะเวลาอบรม (Period)
· 1 วัน (6 ชั่วโมง)
เนื้อหาการบรรยาย (Key Contents)
เวลา | หัวข้อการฝึกอบรม | รายละเอียด |
09.00–12.00 น. | 1. การบริหารบัญชีลูกหนี้ 2. นโยบายสินเชื่อมีความสำคัญกับธุรกิจอย่างไร?(Credit Policy) A.มาตราฐานสินเชื่อ(Credit Standard) · หลักเกณฑ์การพิจารณาเครดิต 5’C · การจัดระดับของลูกค้าและวงเงินสินเชื่อ · การผู้มีอำนาจอนุมัติวงเงินสินเชื่อ · การใช้ประโยชน์ข้อมูลของลูกค้ามาพิจารณาสินเชื่อ · การขอเปิดวงเงินสินเชื่อ B. การกำหนดเงื่อนไขในการชำระเงิน (Term of payment) C. การบริหารการเก็บเงิน (Collection Management) · การออกจดหมายเตือน / จดหมายทวงหนี้ · Check list and reminding and collection |
วิทยากรบรรยาย ผู้เข้าอบรมร่วมเสนอความคิดเห็น กิจกรรม Workshop |
12.00–13.00 น. | พักเที่ยง | |
13.00–16.00 น. | 3. สัญญาณเตือนภัย และสาเหตุของลูกหนี้ที่เริ่มมีปัญหา 4. การควบคุมสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ 5. การเจรจาและวางตัวเพื่อรับมือกับลูกหนี้ 6 ประเภท · โกรธง่าย (ใจร้อน) · รู้ทุกเรื่อง (ชอบคนยกย่อง) · ช่างสงสัย (ไม่ไว้ใจใคร) · เชื่องช้า (สุขุม) · ลังเล (ไม่แน่ใจ) · พูดเก่ง (ทำให้คุณหัวเสียได้) 6. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการตามหนี้ที่ท่านต้องทราบ · หนี้ที่บังคับได้ และหนี้ที่บังคับไม่ได้ · พ.ร.บ การตามหนี้ที่เป็นธรรม |
หมายเหตุกำหนดการอบรมและรูปแบบการอบรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมของบริบทผู้เข้าอบรม
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทราบกำหนดแนวทางในการให้สินเชื่อเพื่อลดความเสี่ยงและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานของธุรกิจ
2. ทราบขั้นตอนในการติดตามหนี้และทราบทักษะการเจรจาเพื่อนำมาใช้ในการเจรจากับลูกค้า
3. สามารถนำทักษะจากการฝึกอบรมมาใช้ควบคุมดูแลงานด้านสินเชื่อให้มีประสิทธิภาพได้ดียิ่งขึ้น