หลักสูตร การบำรุงรักษาเครื่องจักรเพื่อเพิ่มผลผลิต
(Preventive Maintenance for productivity improvement)
หลักการและเหตุผล (Introduction)
การผลิตสินค้าจำนวนมากของโรงงานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น การควบคุมคุณภาพของสินค้า ไปจนถึงประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพของเครื่องจักรถ้าเครื่องจักรอยู่ในสภาพดี การทำงานก็จะมีประสิทธิภาพสม่ำเสมอ สามารถทำให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปอย่างราบรื่น แต่ถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งของเครื่องจักรเสียหาย อาจจะทำให้ประสิทธิภาพการผลิตลดลง จนถึงไม่สามารถผลิตสินค้าออกมาได้ ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องนำ Preventive maintenance เข้ามาจัดการ คือการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน โดยเป็นการรวมคำระหว่าง preventive แปลว่า ป้องกัน ส่วน maintenance แปลว่าบำรุงรักษา เมื่อนำทั้งสองมารวมกัน preventive maintenance หมายถึง บำรุงรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องจักรเสียหายมากขึ้น โดยการวิเคราะห์และบำรุงรักษาก่อนที่จะเกิดปัญหาขึ้นมานั้นเอง เนื่องจากเป็นพื้นฐานที่มีการประยุกต์ใช้ในระบบ ISO 9001 ด้วย แผนกซ่อมบำรุงเครื่องจักรของโรงงาน มักจะพบปัญหาในการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร เช่น ทักษะของช่างเทคนิค การเข้าใจระบบซ่อมบำรุงเอง บางครั้งมีอะไหล่สำรองในส่วนที่ไม่จำเป็นของเครื่องจักร หรืออาจจะมีอะไหล่ที่สำรองไว้มากหรือน้อยเกินไป เป็นต้น
โดยหลักสูตรนี้จะช่วยเน้นให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงปัจจัยที่มีผลต่อการผลิต การสร้างจิตสำนึกต่อการรักษาผลผลิตของบริษัท และเน้นการวางแผนซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน PM (Preventive Maintenance) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้วยต้นทุนที่ต่ำและคุ้มค่า โดยใช้ข้อมูลและประวัติของเครื่องจักรเพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ รวมทั้งการคิดอัตราประสิทธิภาพการผลิตของเครื่องจักรได้อีกด้วย
วัตถุประสงค์ (Objective )
1. เพื่อสร้างความเข้าใจต่อต้นทุนการผลิต และสร้างผลกำไรให้กับบริษัท
2. เพื่อสร้างแนวคิดในการดำเนินกิจกรรมการบำรุงรักษาระบบ PM และ PDM
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการบริการซ่อมบำรุง
4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจเทคนิคและวิธีการตรวจประเมินระบบการบำรุงรักษา
5. เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกัน การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเครื่องจักร อย่างเป็นมีรูปแบบ
6. เพื่อสร้างเทคนิคการวางแผน และ ดำเนินการ PM , PDM ให้มีประสิทธิผล
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม (Target Participants)
· หัวหน้างาน ช่างเทคนิค วิศกร พนักงาน และผู้ที่สนใจทั่วไป
รูปแบบการการอบรม (Methodology)
· การบรรยาย 50%
· กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 40%
· กรณีศึกษา 10%
วิทยากรบรรยาย (Lecturer)
· อ.ดร.ไมตรี บุญขันธ์ วิทยากร
ระยะเวลาอบรม (Period)
· 1 วัน (6 ชั่วโมง)
เนื้อหาการบรรยาย (Key Contents)
เวลา |
หัวข้อการฝึกอบรม |
รายละเอียด |
09.00–12.00 น. |
· องค์ประกอบของการผลิต ด้าน ต้นทุน กำไร และรายได้ · ประวัติความเป็นมาของงานบำรุงรักษา · ความหมายของ ระบบการซ่อมบำรุงเครื่องจักร · เครื่องจักรเสียได้อย่างไร? · อัตราการเกิดขัดข้องของเครื่องจักร ของ Bath – tub Curve · กิจกรรมสำคัญของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันทั้ง 4 กิจกรรม คืออะไร? · แผนผังการซ่อมบำรุง · วงจรการซ่อมบำรุงเครื่องจักร · สาเหตุของการเสื่อมสมรรถนะของเครื่องจักร · ความสูญเสียหลักทั้ง 6 ประการของเครื่องจักร |
วิทยากรบรรยาย ผู้เข้าอบรมร่วมเสนอความคิดเห็น กิจกรรม Workshop |
12.00–13.00 น. |
พักเที่ยง |
|
13.00–16.00 น. |
· กลยุทธ์ในการดำเนินการ Predictive Maintenance - การวิเคราะห์เครื่องจักรเพื่อการกำหนดลักษณะการบำรุงรักษา - การวิเคราะห์เครื่องจักรเชิงพยากรณ์ ด้วยคลื่นเสียง - การวิเคราะห์เครื่องจักรเชิงพยากรณ์ ด้วยความสั่นสะเทือน - การวิเคราะห์เครื่องจักรเชิงพยากรณ์ ด้วยภาพถ่าย - การวิเคราะห์เครื่องจักรเชิงพยากรณ์ ด้วยสารหล่อลื่นที่ใช้แล้ว - การวิเคราะห์เครื่องจักรเชิงพยากรณ์ ด้วยการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ · ระบบการบำรุงรักษาเครื่องจักรและการวางกำหนดตัวชี้วัดในระบบซ่อมบำรุง (KPIs) · เอกสารที่เกี่ยวข้องในระบบซ่อมบำรุงเชิงป้องกันและที่ใช้ร่วมกับระบบ ISO · การวัดประสิทธิภาพและวิเคราะห์การใช้งานเครื่องจักรร่วมกันด้วยค่า OEE, MTBF, MTTR Workshop1: การสำรวจเครื่องจักรเพื่อทำระบบ Predictive Maintenance เบื้องต้นของผู้เข้าอบรม Workshop2 การรวมตัวเพื่อสร้างกลุ่ม ในการทำกิจกรรม Predictive Maintenance แบ่งผู้เข้าสัมมนาออกเป็น 5 กลุ่มย่อย นำเครื่องจักรที่ใช้ในการปฏิบัติงานจริงในโรงงานมาทำกรณีศึกษา และนำเสนอผลงานแต่ละกลุ่มอภิปรายแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ · แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถามตอบ |
หมายเหตุกำหนดการอบรมและรูปแบบการอบรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมของบริบทผู้เข้าอบรม
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้และเข้าใจหลักการซ่อมบำรุง อย่างถูกต้อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำหลักการของ Predictive Maintenance ไปประยุกต์ใช้กับงานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้การซ่อมบำรุงเครื่องจักรเบื้องต้นด้วยตนเองได้
4. ผู้เข้าอบรมมีสำนึกการรักองค์กรมากขึ้น