หลักสูตร การบำรุงรักษาเชิงป้องกันและการจัดการงานบำรุงรักษาสมัยใหม่

(Modern management for Preventive maintenance)

หลักการและเหตุผล (Introduction)

     ปัจจุบันการแข่งขันด้านการผลิตที่มีความรุนแรง ทำให้บริษัทใดที่ทำให้เครื่องจักรมีการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ย่อมก่อให้เกิดความได้เปรียบในเชิงธุรกิจมากกว่าคู่แข่ง และยังเป็นแนวทางในการเพิ่มผลผลิต เป็นการใช้เวลาในการผลิตได้อย่างคุ้มค่า จากการที่เครื่องจักรเป็นปัจจัยหลักในการผลิต ซึ่งหากเครื่องจักรเกิดการขัดข้องเดินไม่เต็มสมรรถนะ หรือหยุดเสียหายโดยไม่ได้คาดการณ์ไว้ ย่อมส่งผลกระทบต่อการส่งมอบที่ล่าช้าและ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ต่ำลง อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจของพนักงานอันเนื่องมาจากการควบคุม เครื่องจักรที่ไม่ปลอดภัย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องทำการป้องกันเพื่อไม่ให้เครื่องจักรขัดข้อง หรือหยุดโดยการใช้ระบบการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) เพื่อให้เครื่องจักรมีความพร้อมในการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

     แผนกซ่อมบำรุงเครื่องจักรของโรงงาน มักจะพบปัญหาการขาดอะไหล่ในการนำมาซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องจักร เช่น บางครั้งมีอะไหล่สำรองในส่วนที่ไม่จำเป็นของเครื่องจักร หรืออาจจะมีอะไหล่ที่สำรองไว้มากหรือน้อยเกินไป เป็นต้น ดังนั้น การที่มีอะไหล่สำหรับการซ่อมตามที่ต้องการตามกำหนดเวลา การจัดเตรียมการสำรองอะไหล่ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงอย่างมีระบบ  จึงเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่ทำให้สามารถลดปัญหาการขาดแคลนอะไหล่ และซ่อมบำรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงเวลา

     โดยหลักสูตรนี้จะช่วยเน้นให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงปัจจัยที่มีผลต่อการผลิต การสร้างจิตสำนึกต่อการรักษาผลผลิตของบริษัท และเน้นการวางแผนซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน PM (Preventive Maintenance) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้วยต้นทุนที่ต่ำและคุ้มค่า โดยใช้ข้อมูลและประวัติของเครื่องจักรเพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ รวมทั้งการคิดอัตราประสิทธิภาพการผลิตของเครื่องจักรได้อีกด้วย

วัตถุประสงค์  (Objective )

1.          เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการบำรุงรักษาเครื่องจักรที่ถูกต้อง

2.        เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการบริการซ่อมบำรุง

3.       เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจธรรมชาติของกระบวนการผลิตด้วยเครื่องจักร

4.        เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีแนวคิดในการลดความสูญเสียของเครื่องจักรในระบบการผลิต

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม (Target Participants)

·          หัวหน้างาน ช่างเทคนิค พนักงาน และผู้ที่สนใจทั่วไป

รูปแบบการการอบรม (Methodology)

·          การบรรยาย  40%

·          เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 40%

·          กรณีศึกษา 20%

วิทยากรบรรยาย (Lecturer)

·          วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ

ระยะเวลาอบรม (Period)

·          1 วัน (6 ชั่วโมง)

เนื้อหาการบรรยาย (Key Contents)

เวลา

หัวข้อการฝึกอบรม

รายละเอียด

 

 

 

 

09.00–12.00 น.

กิจกรรมละลายพฤติกรรม สร้างสมาธิและการยอมรับซึ่งกันและกัน

แนวคิดในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

1.แนวคิดในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

     1.1องค์ประกอบของธุรกิจ ต้นทุน กำไร และรายได้

     1.2 พื้นฐานการผลิตตามหลักการ 4M+1I

     1.3 องค์ประกอบที่สำคัญในสายการผลิตที่ประสบผลสำเร็จ

     1.4 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความสูญเสียในกระบวนการผลิต

รู้จักกับการบำรุงรักษาแบบต่างๆ

2. ความสูญเสียหลัก 6 ประการของเครื่องจักร

3. รู้จักกับความหมายและการบำรุงรักษาแบบต่างๆ

     3.1 การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)

     3.2 การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง (Individual Improvement)

     3.3 การบำรุงรักษาเชิงวางแผน (Planned Maintenance)

     3.4 การบำรุงรักษาเชิงคุณภาพ (Quality Maintenance)

     3.5 การบำรุงรักษาทวีผล (Productive Maintenance)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วิทยากรบรรยาย

ผู้เข้าอบรมร่วมเสนอความคิดเห็น

กิจกรรม Workshop

12.0013.00 น.

พักเที่ยง

 

 

 

 

13.0016.00 น.

กิจกรรมกระตุ้นผู้เข้ารับการอบรม

ให้แต่ละกลุ่มนั่งรวมกันหลังได้รวมตัวก่อนพักเที่ยง โดยวิทยากรถามปัญหาที่พบในการทำงาน

การเพิ่มประสิทธิภาพในการซ่อมบำรุงเครื่องจักร

4. เอกสารที่เกี่ยวข้องในระบบซ่อมบำรุงเชิงป้องกันและที่ใช้ร่วมกับระบบ ISO

5. การวางแผนการซ่อมบำรุง การเก็บข้อมูล และการปรับปรุง

6. การเพิ่มประสิทธิภาพในการซ่อมบำรุงเครื่องจักร จากพนักงานหน้าเครื่องและช่างเทคนิค

7. การวัดประสิทธิภาพและวิเคราะห์การใช้งานเครื่องจักรร่วมกันด้วยค่า OEE, MTBF, MTTR

8. การแก้ไขปัญหาในการซ่อมบำรุงด้วย Cause-Effect Diagram, Tree Diagram, Relation Diagram

9.การระดมสมองเพื่อช่วยให้งานซ่อมบำรุงประสบความสำเร็จ

10.  Workshop การซ่อมบำรุงที่ทุกคนมีส่วนร่วม

หมายเหตุกำหนดการอบรมและรูปแบบการอบรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมของบริบทผู้เข้าอบรม

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.          พนักงานมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน

2.        พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาปรับปรุงเครื่องจักรเพื่อยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพ

3.       ในการทำงานอย่างต่อเนื่อง

4.        สามารถประยุกต์ใช้ในการทำงานและขยายผลภายในองค์กรต่อไป

5.       พนักงานสามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการปรับปรุงเครื่องจักร และควบคุมการใช้งานอะไหล่ร่วมกัน


กำหนดการ  วันอังคาร ที่ 1 เมษายน 2568 เวลา 09.00-16.00 น.

 สถานที่ โรงแรมโนโวเทล สุขุมวิท 20 BTS อโศก กทม.

           **สถานที่อาจมีเปลี่ยนแปลง**

อัดตราค่าบริการอบรม ท่านละ   3,900 บาท

ลงทะเบียน 3 ท่านขึ้นไป ท่านละ   3,500 บาท

ลงทะเบียน 4 ท่านขึ้นไป ท่านละ   3,200 บาท

(ค่าบริการดังกล่าวยังไม่รวม VAT)

พร้อมรับใบประกาศนียบัตรในห้องอบรม
พร้อม อาหารว่าง อาหารกลางวัน เอกสารการอบรม และชุด Gift Set ของสถาบัน 

  

Visitors: 25,249