หลักสูตร ระบบป้องกันความผิดพลาด (POKA YOKE)
หลักการและเหตุผล (Introduction)
ข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานทั่วไปย่อมเกิดได้กับผู้ปฏิบัติงานทุกคนในองค์การ เช่น ผิดพลาดจากการหลงลืม หรือจำไม่ได้ จึงจําเป็นต้องใช้สื่อช่วยเข้าเตือนความจํา อาทิ แผ่นป้าย ข้อความ ซึ่งอาจจะไม่มีผลอันถาวรในการช่วยเตือนในการปฏิบัติงานทุกครั้ง แต่สําหรับกระบวนการผลิตแล้วชิ้นงานบกพร่องหรืองานที่มีคุณภาพไม่สม่ำเสมอมักมีสาเหตุจากวิธีการทํางาน เช่น เมื่อมีการสับเปลี่ยนกะทํางานที่อาจมีแรงงานที่ขาดทักษะ ซึ่งการจะแก้ปัญหาความบกพร่องที่เกิดขึ้นจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทํางานให้มีลักษณะที่ง่ายขึ้น
ระบบการผลิตของญี่ปุ่นในการป้องกันข้อผิดพลาดในการผลิตที่เรียกกันว่า “Poka Yoke” คิดโดย MR.Shigeo Shingo ได้สร้างวิธีการป้องกันข้อผิดพลาดในกระบวนการผลิตไว้ 3 วิธี 1. Contact 2. Counting และ 3.Motion-Sequence เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานลดข้อผิดพลาดในการทํางานได้อย่างเกิดประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงจําเป็นต้องให้พนักงานเรียนรู้ในเรื่องนี้เพื่อ สามารถคิดสร้างสรรค์ระบบ Poka Yoke ที่ได้เรียนรู้มาอย่างเกิดประโยชน์อย่างถาวรต่อไป
วัตถุประสงค์ (Objective )
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ตระหนักและเข้าใจถึงการป้องกันความผิดพลาดโดยมิได้ตั้งใจ Poka Yoke
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจถึงแนวความคิด วิธีการและเทคนิคการดำเนินการของ Poka Yoke
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้เรื่อง Poka Yoke มาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงแนวทางและขั้นตอนในการปรับปรุงงานเพื่อลดความผิดพลาดอย่างต่อเนื่อง
5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้พัฒนาและแก้ไขปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างถูกวิธีและทราบถึงอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง
รูปแบบการการอบรม (Methodology)
· การบรรยาย 40 %
· เกม / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 60%
วิทยากรบรรยาย (Lecturer)
· วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
ระยะเวลาอบรม (Period)
· 1 วัน (6 ชั่วโมง)
เนื้อหาการบรรยาย (Key Contents)
เวลา | หัวข้อการฝึกอบรม | รายละเอียด |
09.00–12.00 น. | · องค์ประกอบการผลิต · คุณภาพหมายถึงอะไร? · ตรวจสอบข้อผิดพลาดจาก 4M 1E · การควบคุมคุณภาพของเสียเป็นศูนย์ (ZQC) |
วิทยากรบรรยาย ผู้เข้าอบรมร่วมเสนอความคิดเห็น กิจกรรม Workshop |
12.00-13.00 น. | พักเบรก | |
13.00–16.00 น. | · อะไรทำให้เกิดของเสีย · ระบบ Poka Yoke · เทคนิคแก้ไขปัญหาและวิธีการปรับปรุงงานโดยความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมรู้ถึงเทคนิคและวิธีการในการแก้ไขปัญหา โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเหมาะสม · กรณีศึกษาและตัวอย่างระบบ Poka Yoke เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ถึงการวิเคราะห์ถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาจากตัวอย่างสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง |
หมายเหตุกำหนดการอบรมและรูปแบบการอบรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมของบริบทผู้เข้าอบรม