หลักสูตร แนวทางปฏิบัติและกลยุทธ์การทำ Kaizen สมัยใหม่
(กระบวนการประยุกต์ใช้จริง)
หลักการและเหตุผล (Introduction)
ในโลกการแข่งขันทางอุตสาหกรรมปัจจุบัน องค์กรธุรกิจต่างมุ่งแสวงหาแนวทางการผลิต, การบริหารกระบวนการที่จะสามารถตอบโจทย์ทางด้านการแข่งขันได้ ทั้งเรื่องคุณภาพ ต้นทุนการผลิต และระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตจนถึงการส่งมอบ ดังนั้นการบริหารการผลิตและการสีส่วนร่วม จึงมีความสำคัญอย่างมาก การบริหารจัดการได้ดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลย่อมจะทำให้ผลลัพธ์ Q C D (Quality, Cost, Delivery) เป็นที่พึงพอใจจนถึงเกินความคาดหมายของลูกค้าได้ ทำให้องค์กรสามารถแข่งขันได้และเติบโตอย่างยั่งยืน
ความสำเร็จทางด้านการบริหารงาน หมายถึงความสามารถทำให้ได้ตรงตามเป้าหมาย ทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพ ด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด การปรับปรุงขบวนการทำงาน โดยใช้เครื่องมือที่ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ และเกิดการปรับปรุงการทำงานด้วยตัวบุคคลากรภายในเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากบริษัทใดให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปรับปรุงงานด้วย KAIZEN ให้กับพนักงานแล้วนั้น ก็จะพบการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานไปในทางที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน เช่นลดต้นทุนการผลิต ลดปัญหาความเสียหาย ลดความสูญเปล่าจากการแก้ไข การรอคอยงาน การขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และยังสามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับบุคลากรภายในได้อีกด้วย
คุณลักษณะของไคเซ็นจะเน้นการปรับปรุงทีละเล็กละน้อยและเป็นไปอย่างต่อเนื่องโดยการปรับปรุงสามารถทำเป็นรายบุคคลหรือเป็นทีมก็ได้การทำ ไคเซ็นให้ประสบความสำเร็จต้องมีทัศนคติที่ดีได้แก่ต้อง ละทิ้งความคิดเก่าที่ว่าไม่สามารถทำได้และคิดใหม่ว่าทุกอย่างสามารถทำได้ (Can do) , อย่ายอมรับคำแก้ตัว , ไม่ต้องแสวงหาความสมบูรณ์แบบของการปรับปรุงงานก่อนลงมือทำ ,ไม่จำเป็นต้องใช้เงินหรือทรัพยากรมากมายเพื่อทำการปรับปรุง, การปรับปรุงให้ดีขึ้นนั้นไม่มีจุดสิ้นสุดหรือไม่มีจุดจบเป็นต้น
โดยหลักสูตรนี้จะช่วยให้เข้าใจการแนวคิดการปรับปรุงงานแบบไคเซ็น เรียนรู้วิธีการค้นหาจุดที่ควรปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานไคเซ็น แนวทาง/เทคนิคการปรับปรุงงาน ด้วยเครื่องมือต่างๆ โดยมีแนวทางประยุกต์ใช้ในงานของตนเองต่อไป ดังนั้นหากองค์กรได้มีการส่งเสริมสนับสนุนแนวคิด KAIZEN โดย “เปลี่ยนวิธีการ ปรับวิธีคิด” ดังที่กล่าวมาแล้ว องค์กรจะได้รับการพัฒนาโดยพนักงานทุกระดับและเป็นวัฒนธรรมในองค์กรอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์ (Objective )
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจ ถึงแนวคิดและวิธีการประยุกต์การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องด้วย ไคเซ็น
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงแนวทางและขั้นตอนในการปรับปรุงงานและลดต้นทุนในการทำงาน
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเกิดการพัฒนาและแก้ไขปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างถูกวิธี
4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถปรับเปลี่ยนแนวคิดเพื่อปรับปรุงงานได้อย่างถูกต้อง
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม (Target Participants)
· หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจทั่วไป
รูปแบบการการอบรม (Methodology)
· การบรรยาย 50%
· กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 40%
· กรณีศึกษา 10%
วิทยากรบรรยาย (Lecturer)
· อาจารย์ ดร.ไมตรี บุญขันธ์
ระยะเวลาอบรม (Period)
· 1 วัน (6 ชั่วโมง)
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
· พนักงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานไคเซ็น 4.0 อย่างถูกต้องชัดเจน
· พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาปรับปรุงงานเพื่อยกระดับคุณภาพประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการทำงานอย่างต่อเนื่อง
· สามารถนำกิจกรรมไคเซ็นไปประยุกต์ใช้ในองค์กรอย่างถูกต้อง
· มีความเข้าในการประยุกต์กิจกรรม ไคเซ็น อย่างถูกต้อง
เนื้อหาการบรรยาย (Key Contents)
เวลา |
หัวข้อการฝึกอบรม |
รายละเอียด |
09.00–12.00 น. |
Module 1 : ความสำคัญของ KAIZEN ในองค์กร · ความสำคัญของการพัฒนางานและองค์กรในปัจจุบัน · แนวคิดการปรับปรุงงานแบบ KAIZEN คืออะไร? ทำไมจึงสามารถลดต้นทุนและความสูญเสีย · รูปแบบการคิดในการพัฒนางานแบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับแนวคิดไคเซ็น Workshop Growth mindset Vs Fixed mindset Workshop ความคิดสร้างสรรค์และการคิดนอกกรอบ · หลักการเขียนข้อเสนอแนะเบื้องต้นของไคเซ็นในการปรับปรุงงาน · การแบ่งประเภทและระบบข้อเสนอแนะของไคเซ็น (KAIZEN Suggestion) Workshop ผู้เข้าอบรมทุกคนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานของตนเอง knowledge Share · ปัญหาที่ควรนำมาทำและไม่ควรนำมาทำ ไคเซ็น |
วิทยากรบรรยาย ผู้เข้าอบรมร่วมเสนอความคิดเห็น กิจกรรม Workshop |
12.00–13.00 น. |
พักเที่ยง |
|
13.00–16.00 น. |
Module 3 : เทคนิคการทำ KAIZEN ในองค์กร · หลักการพื้นฐานของไคเซ็นในการปรับปรุงงานทั้ง 3 หลักการ หลักการแรก 5ส และ Visual control ของ ไคเซ็น - หลักการที่สอง วิธีการปรับปรุงงานโดยการวิเคราะห์กระบวนการ ตามหลัก เลิก/ลด/เปลี่ยน และ ECRS - หลักการเขียนขั้นตอนการทำงานเพื่อหาจุดปรับปรุงงานด้วย Flow Process Chart - หลักการและการประยุกต์ใช้ ECRS (ตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออก/เอามารวมกัน/จัดเรียงใหม่/ ทำให้ง่ายขึ้น Workshop วิเคราะห์งานเพื่อปรับปรุงงาน - หลักการที่สาม หลักการการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วย PDCA Module 4 : กิจกรรมการแข่งขันเป็นกลุ่ม · การเขียนผังการทำงานใหม่ ด้วยผังการไหล (Flow Process Chart) · รู้จักการปรับปรุงกระบวนการด้วยเทคนิต่างๆ ของ ECRS - Eliminate = ตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออก - Combine = เอามารวมกัน - Re-arrange = จัดเรียงใหม่ - Simplify = ทำให้ง่ายขึ้น · กรณีศึกษา และ Workshop “ระดมสมองเพื่อปรับปรุงงานเป็นทีม” วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ถึงการวิเคราะห์ถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันผ่านกิจกรรมกลุ่ม · ถาม-ตอบ
|
หมายเหตุกำหนดการอบรมและรูปแบบการอบรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมของบริบทผู้เข้าอบรม